ในปัจจุบันเทคโนโลยีต่างๆ พัฒนาไปอย่างมาก เช่นเดียวกับเทคโนโลยีโครงสร้าง ก่อสร้าง กระทั่งรวมไปถึงการเดินท่อ การวางท่อ และหนึ่งในเทคโนโลยีการวางท่อที่เราจะมาพูดถึงกันในวันนี้ก็คือ เทคนิค การวางท่อ HDPE แบบ Horizontal Directional Drilling หรือ หลายคนมักจะเรียกติดปากว่า การวางท่อแบบ HDD แต่วิธีการวางท่อแบบนี้ จะมีรายละเอียดแบบใด ยากง่ายแค่ไหน วันนี้เราจะพาไปเจาะลึกให้พอเห็นภาพกันอย่างชัดเจน
การวางท่อ HDPE แบบ HDD คืออะไร?
การวางท่อแบบนี้ สามารถเรียกได้ว่าเป็นการวางท่อแนวนอน ในพื้นดินวิธีหนึ่ง โดยใช้การเจาะผ่านใต้ดินตามแนวนอน ต่างจากการวางท่อแบบร่องลึก มีขีดความสามารถในการหลีกเลี่ยงที่สูง ไม่ว่าจะเป็นการวางท่อลอดคลอง การวางท่อลอดถนน แม้จะเป็นหนึ่งในวิธีที่ “หิน” เป็นพิเศษ แต่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งในการวางท่อที่ได้รับความนิยมสูง เพราะวิธีการติดตั้งแบบนี้จะไม่ทำให้ผิวดินในพื้นที่เสียหาย
ประวัติศาสตร์ของการวางท่อแบบ HDD
การวางท่อแบบ HDD สามารถสืบสาวราวเรื่องย้อนกลับไปในปี ในปี ค.ศ 1929 H.john Eastman ได้ทำการพัฒนาเครื่องมือแม่เหล็กแบบ Single-Shot และแบบ Muti-Shot จากนวัตกรรมนี้ทำให้สามารถวัดความลาดเอียง รวมไปถึงทิศทางในการขุดเจาะได้อย่างแม่นยำมากขึ้น โดยอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการเริ่มต้นยุคของการขุดเจาะที่สามารถจะคุมทิศทาง หลบเลี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพแม่นยำเป็นอย่างมาก และก็ได้มีวิวัฒนาการมาเรื่อย และในปี ค.ศ.1980 บริษัท Tensor ผู้นำด้านนวัตกรรมด้านการขุดเจาะได้คิดค้นเทคโนโลยีการ “บังคับเลี้ยว” เป็นการเปิดช่องทางในการนำเทคโนโลยีการวางท่อแบบ HDD มาใช้ในโปรเจคการขุดเจาะขนาดกลาง รวมไปถึงขนาดใหญ่
ขั้นตอนการวางท่อ HDPE แบบ HDD
ขั้นตอนในการวางท่อแบบ HDD จะมีด้วยการ 3 ขั้นตอนใหญ่ๆ ด้วยกันโดยจะถูกแบ่งเป็นอะไรบ้าง วันนี้เราจะพาทุกท่านที่มีโปรเจคที่จะวางท่อ HDPE หรือผู้ที่สนการวางท่อ ได้ทราบถึงขั้นตอนหลักๆ จะมีอะไรบ้างไปชมพร้อมๆ กันได้เลย
การเจาะ Pilot Hole
ในขั้นตอนนี้จะเป็นขั้นตอนแรก โดยการเจาะรูขนาดไม่ใหญ่มาก โดยมีศูนย์กลางขนาดเล็ก โดยในขั้นตอนนี้จะมีเทคโนโลยีหลายอย่างเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นหัวเจาะ ที่จะประกอบไปด้วยดอกสว่านที่มีหัวฉีดแรงดันสูง รวมไปถึงดอกสว่านบดดิน ขั้นตอนการตรวจสอบ Pilot Hole สามารถใช้ได้หลากหลายวิธี ขึ้นอยู่กับขนาด และความซับซ้อน อาจจะใช้ walkover guidance system หรือจะใช้การวัดระยะทางจากสายตัวส่งสัญญานอิเล็กทรอนิกส์ โดยทั้งสองวิธีที่กล่าวมาจะมีเครื่องมือบังคับเลี้ยวอยู่ใกล้หัวเจาะ
ขั้นตอน PRE-REAMING
ในขั้นตอนที่สองของการวางท่อแบบ HDD ในขั้นตอนนี้จะเป็นการขยายรูนำร่อง เพื่อให้มีขนาดที่ใหญ่มากพอที่จะติดตั้งท่อ HDPE ลงไปในรู และสว่านหรือหัวเจาะ ที่มีขนาดใหญ่มากกว่าตอนที่เจาะ Pilot Hole จะถูกติดตั้ง และดึงกลับเพื่อเจาะขยายรู โดยปกติควรจะมีขนาดใหญ่กว่าท่อประมาณ 50% เพื่อที่ง่ายต่อการดึงท่อผ่าน โดยที่ความเร็วจะขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อม และสภาพดินที่ถูกขุดเจาะเอง
ขั้นตอน PIPE PULLBACK หรือ ดึงท่อกลับ
ขั้นตอนที่สาม จะเป็นขั้นตอนสุดท้าย หลังจากที่เราได้รูที่มีขนาดใหญ่พอที่จะสามารถนำท่อ HDPE ใส่เข้าไปได้แล้ว ตัวท่อ HDPE จะถูกติดตั้งกับแทนเจาะ เพื่อที่จะดึงท่อกลับมายังต้นทางที่ได้เจาะไป เป็นอันเสร็จสิ้นกระบวนการวางท่อ HDPE แบบ HDD หรือ horizontal directional drilling นั่นเอง
เกร็ดน่ารู้ ในบางครั้ง วิศวกรผู้คุมงานจะนำขั้นตอน PRE-REAMING และ PIPE PULLBACK มารวมกันเป็นขั้นตอนเดียว กล่าวได้ว่าขณะที่หัวเจาะ ขยายรูให้มีขนาดใหญ่ พร้อมทั้งดึงท่อ HDPE พร้อมกันกลับไปยังฝั่งที่เริ่มการเจาะ
ประโยชน์ของ การวางท่อ HDPE แบบ HDD
การใช้วิธีการวางท่อแบบ HDD เหมาะสมเป็นอย่างยิ่งกับสภาพแวดล้อมที่ละเอียดอ่อนเป็นพิเศษ ไม่ว่าจะเป็นพื้นที่แบบชุ่มน้ำ ปากน้ำ แม่น้ำ รวมไปถึง พื้นที่ทะเลสาบ ที่สำคัญวิธีการวางนี้ด้วยวิธีนี้ ยังมีความรวดเร็ว และยังแม่นยำเป็นอย่างมาก แม้ว่าหน้างานจะมีความซับซ้อน สามารถเจาะในความลึกที่มากขึ้น ทำให้สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบกับสาธารณูปโภคที่มีอยู่ก่อนแล้วได้อย่างไม่มีปัญหา
บทสรุป การวางท่อ HDPE แบบ HDD
สามารถที่จะสรุป การวางท่อแบบ HDD ได้ว่าเป็นวิธีการที่ต้องใช้ความชำนาญเป็นอย่างมากวิธีหนึ่ง เหมาะกับงานที่ต้องการความเร่งด่วน และส่งผลกระทบต่อบริเวณไซต์งานน้อยที่สุด อย่างเช่นต้องการวางท่อผ่านถนน โดยหากใช้วิธีการวางท่อ HDD ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องปิดช่องทางการเดินรถ ทำการวางท่อไม่ส่งผลต่อสภาพการจราจร เพราะการวางท่อจะถูกทำโดยการลอดผ่านผิวถนนไปนั่นเอง
Comments are closed.